เมนู

โยชน์ จำนงหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพสัทธรรม.

จบ ปุญญวิปากสูตรที่ 9

อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ 9


ปุญญวิปากสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํภายิตถ ความว่า พวกเธอเมื่อจะ
ทำบุญ อย่างได้กลัวต่อบุญเหล่านั้นเลย. ด้วยคำว่า เมตฺตจิตฺตํ ภาเวสึ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราอบรมจิตทำให้ประณีตประกอบ
เมตตา อันประกอบด้วยฌานหมวด 3 และหมวด 4
คำว่า สํวฏฺฏมาเน สุทาหํ ตัดบทเป็น สํวฏฺฏมาเน สุทํ อหํ.
บทว่า สํวฏฺฏมาเน ความว่า เมื่อโลกอันไฟไหม้อยู่ คืออันไฟทำให้
พินาศอยู่. บทว่า ธมฺมิโก ได้แก่ ประกอบด้วยกุศลธรรม 10 ประการ.
บทว่า ธมฺมราชา นี้ เป็นไวพจน์ ของบทว่า ธมฺมราชา นั้น. อีก
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นธรรมราชา เพราะทรงได้ราชสมบัติ
โดยธรรม. บทว่า จาตุรนฺโต ได้แก่มีความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ที่ชื่อว่า จาตุรันต์ ด้วยอำนาจมีมหาสมุทรทั้ง 4 มีในทิศบูรพา
เป็นต้น บทว่า วิชิตาวี แปลว่า ผู้ชนะสงคราม. ชนบทในพระเจ้า-

จักพรรดินั้น ถึงความมั่นคงถาวร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรง
มีชนบทถึงความมั่นคงถาวร.
บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า มีพระโอรสมากเกิน 1,000
พระองค์. บทว่า สูรา ได้แก่ผู้ไม่ขลาด ในบทว่า วีรงฺครูปา มีรูป
วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ องค์ของผู้แกล้วกล้า ชื่อว่า วีรังคะ วีรังคะ
องค์ผู้กล้าหาญเป็นรูปของโอรสเหล่านั้น เหตุนั้นโอรสเหล่านั้น
ชื่อว่า วิรังครูปา ผู้มีองค์แห่งผู้กล้าหาญเป็นรูป. ท่านอธิบายไว้ว่า
โอรสเหล่านั้น ไม่เกียจคร้าน เหมือนผู้มีความเพียรเป็นปกติ มีความ
เพียรเป็นสภาวะ และมีความเพียรมาก. ท่านอธิบายว่าแม้จะรบ
ทั้งวันก็ไม่เหน็ดเหนื่อย. บทว่า สาครปริยนฺตํ ความว่า มีมหาสมุทร
ตั้งจดขุนเขาจักรวาฬเป็นขอบเขตล้อมรอบ. บทว่า อทณฺเฑน ได้แก่
เว้นจากอาชญา คือการปรับสินไหมด้วยทรัพย์บ้าง ลงอาชญา
ทางตัวบทกฏหมาย โดยสั่งจำคุก ตัดมือเท้าและประหารชีวิตบ้าง
บทว่า อสตฺเถน ได้แก่ เว้นจากใช้ศัสตราเบียดเบียนผู้อื่นมีศัสตรา
มีคมข้างเดียวเป็นต้น บทว่า ธมฺเมน อภิวิชิย ความว่า ทรงชนะ
ตลอดแผ่นดิน มีประการยังกล่าวแล้ว โดยธรรมอย่างเดียว โดยนัย
อาทิว่า ไม่พึงฆ่าปาณะ สัตว์ที่พระราชาผู้เป็นข้าศึก ต้อนรับ
เสด็จอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด.
บทว่า สุเขสินํ ความว่า ย่อมเรียกสัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหา
ความสุข. บทว่า สุญฺญพฺรหฺมูปโค ความว่า ผู้เข้าถึงวิมาพรหม

อันว่างเปล่า. บทว่า ปฐวึ อิมํ ความว่า ซึ่งแผ่นดินใหญ่ อันมีสาคร
ล้อมรอบ. บทว่า อสาหเสน แปลว่าด้วยกรรมที่มิได้ตั้งคิด. บทว่า
สเมน สุเทสิตํ ความว่า พร่ำสอนด้วยกรรมอันสม่ำเสมอ. บทว่า
เตหิ เอตํ สุเทสิตํ ความว่า ฐานะนี้ คือมีประมาณเท่านี้ อันพระ
พุทธเจ้าทั้งหลาย แสดงดีแล้ว ตรัสดีแล้ว. บทว่า ปฐโพฺย แปลว่า
เจ้าเผ่นดิน.
จบ อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ 9

10. ภริยาสูตร


[60] ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย
ในนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี เหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์
ของท่านจึงส่งเสียงอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน อนาถ-
บิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดา
คนนี้ข้าพระองค์นำมาจากตระกูลมั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นาง
ไม่เชื่อถือ แม่ผัว พ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านางก็ไม่
สักการะเคารพนับถือบูชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนว่า มานี่แน่ะนางสุชาดา นางสุชาดา
หญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เขาไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
นางสุชาดา ภริยาของบุรุษ 7 จำพวกนี้ 7 จำพวกเป็นไฉน คือ
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต 1 เสมอด้วยโจร 1 เสมอด้วยนาย 1
เสมอด้วยแม่ 1 เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว 1 เสมอด้วยเพื่อน 1